อัพเดทใหม่ล่าสุดเมื่อ 7 สิงหาคม 2023

สำหรับประเทศไทยมี กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าล่าสุด 2566 ที่ใช้บังคับในปัจจุบันทั้งหมด 5 ฉบับ ได้แก่ 

โดยบทบัญญัติภายในเนื้อหาของกฎหมายทั้ง 5 ฉบับ เป็นเหตุให้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งจะแบ่งบังคับใช้แก่ กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า หรือ กรณีผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า หรือ กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า หรือ กรณีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ เป็นต้น

กรณีผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า

คำว่า “ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า” หากตีความตามตัวบทบัญญัติของกฎหมายจะได้ความหมายว่า การเข้ายึดถือเอาทรัพย์สินนั้นโดยสงบและเปิดเผยซึ่งหมายรวมถึงการพกพาสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ที่ถือเป็นความผิดตตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 246 มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ 4 เท่าของราคา พร้อมภาษีที่ยังไม่ได้จ่าย แม้ผู้ครอบครองอ้างว่าไม่รู้ว่าผิดกฎหมาย ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นจากฐานความผิด อ้างอิง คำพิพากษาศาลอาญาที่ อ.3757/2561 และ  คำพิพากษาศาลอาญาที่ 150/2562 และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2564

“ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตร 242 ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจาทั้งปรับ” – พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 246

หากแต่ พกบุหรี่ไฟฟ้าโดนจับไหม? คำตอบจะขึ้นอยู่กับความเห็นในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ความเห็น ได้แก่

1. ในทางทฤษฎี: หากพกพาบุหรี่ไฟฟ้าย่อมสามารถถูกจับกุมได้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยจะไม่มีโทษปรับที่โรงพัก จะถูกดำเนินคดีเพื่อส่งฟ้องต่อศาล จากฐานความผิดตตามพระราชบัญญัติศุลกากร ตามมาตรา 242 และมาตรา 246 ตามคำกล่าวจับบุหรี่ไฟฟ้าแนะแก้กฎหมายก่อนแล้วค่อยพก ของ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ปี 2566 การพกพาบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกต่อไป เนื่องด้วยแนวทางดำเนินคดีพกบุหรี่ไฟฟ้าล่าสุดจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเปิดโอกาศให้ประชาชนเลือกชำระค่าปรับแทนการจับกุม โดยตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากรได้

2. ในแง่บังคับใช้กฎหมาย: หากถูกจับกุม กฎหมายไทยไม่มีมาตรการควบคุม ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเป็นการเฉพาะ จึงเกิดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย นำมาซึ่งการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการตัดสินความถูกผิดของพฤติการณ์ ต่าง ๆ แทนการใช้ตัวบทกฎหมายในการกาหนดความผิดเป็นหลัก ทำให้การพกพาเพื่อเจตนาบางประการ เช่น การพกพาบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับใช้เองและไม่ได้จำหน่ายขายต่อไม่ถูกจับกุมในบางกรณี อ้างอิง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ซึ่งเราจะกล่าวต่อไปโดยละเอียดในหัวการปฎิบัติใช้จริงในความเห็นทางกฎหมาย ประกอบกับความเห็นของสื่อในปัจจุบัน

กรณีผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้า

การขายและให้บริการตามตัวบทบัญญัติของกฎหมายไทย หมายถึง ร้านบุหรี่ไฟฟ้าหรือผู้นำสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้าไปแลกเปลี่ยนหรือหาประโยชน์อันมีมูลค่าได้ ถือเป็นความผิด ตามมาตรา 56/5 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิง คำพิพากษาศาลอาญาที่ อ.3584/2561

ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29/10 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 29/13 วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยตามมาตรา 29/10 วรรคสอง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับวันละ ไม่เกินสองหมื่นบาทจนกว่าจะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ดาเนินการแล้ว – พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 56/5

ทั้งยังมี คำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 ต้องห้ามไว้อีกประการหนึ่งด้วย ซึ่งเหตุผลเบื้องหลังกฎหมายดังกล่าวก็เพื่อป้องกันการใช้งานอย่างแพร่หลายของผู้คนในประเทศไทย จากฐานความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายต่อร่างกาย โดยมีสารเคมีร้ายแรงหลายชนิดรวมทั้งโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และภาครัฐจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษาหรือบริการทางสุขภาพเหล่านั้น

แม้หน่วยงานทางสาธารณสุขเช่นเดียวกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในประเทศชั้นนำอื่น ๆ เช่น อย.สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และนิวซีแลนด์ และอีกกว่า 70 ประเทศ ยอมรับแนวคิดการลดอันตรายจากยาสูบจากบุหรี่มวน (tobacco harm reduction) จึงทำให้บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ผิดกฎหมายแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากงานวิจัยบางส่วนที่เป็นข้อพิสูจน์ว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่มีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่แบบดั้งเดิม เพื่อช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่และลดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ที่ยังจะสูบบุหรี่ต่อไป

กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า

การนำเข้า มีหลักทฤษฎีตามตัวบทบัญญัติของกฎหมายไทยหมายถึงการนำหรือส่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า ในทางปฎิบัติคือผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเข้าในประเทศไทย เพื่อเจตนาจัดจำหน่ายและขายบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป กฎหมายไทยได้ถือให้การนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้าม พ.ศ. 2557 ร่วมกับการที่บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้าม ทำให้ผู้นำเข้า นำออก ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ โดยรู้ว่าได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรอันถูกต้อง ตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 จะต้องรับผิดในโทษสำหรับความผิดดังกล่าวอีกด้วย อ้างอิง ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2564 เช่นเดียวกับกรณีผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้า

ข้อ ๔ ให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าห้ามนําเข้ามาในราชอาณาจักร ให้สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้เป็นแหล่งกําเนิดควันหรือละอองไอน้ํา เพื่อการสูบแบบบารากู่ และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งนําเข้ามาพร้อมสินค้าตามวรรคหนึ่งเพื่อใช้ร่วมกัน เป็นสินค้า ห้ามนําเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย – ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กําหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557

กรณีผู้สูบในที่สาธารณะ

โดยทั่วไปแล้วการสูบบุหรี่มวนในที่สาธารณะและเขตปลอดบุหรี่ที่กฎหมายกำหนด ย่อมมีความผิดตามมาตรา 42 มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ซึ่งไดนำมาปรับใช้กับผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเช่นเดียวกัน ในปัจจุบัน

ห้ามผู้ใดสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ เว้นแต่เป็นเขตสูบบุหรี่ที่กําหนดตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง – พระราชบัญญัติ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 มาตรา 42

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 42 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทพระราชบัญญัติ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 มาตรา 67

โดยที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ สถานศึกษา สนามกีฬา สถานที่ให้บริการ ร้านค้า สถานบันเทิง สถานที่ทางศาสนา ยานพาหนะ ท่าอากาศยาน ห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่งผู้โดยสาร และอื่น ๆ อ่านเพิ่มเติมได้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ…เป็นเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561

บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายเพราะอะไร

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องมีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย เนื่องจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สคบ. มีความเชื่อที่ว่า บุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีโทษต่อร่างกายจากสารเคมีอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าหลายชนิด ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินที่เป็นสารเสพติดประเภทหนึ่ง ก่อให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมีกับสารประกอบในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด ระเหยไอจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ สมอง และนำไปสู่อาการเสพติดสารโปรปิลินไกลคอล(PG)และนิโคตินจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าในที่สุด

ในอีกแง่หนึ่ง การทำให้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายในประเทศไทย มีสาเหตุจาก มาตรการทางภาษีที่ไม่ครอบคลุมของกฎหมายไทยล่าสุด กล่าวคือ โดยหลักแล้วบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ทั้งที่ควรจัดเป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายต้องจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเช่นเดียวกับบุหรี่ซองทั่วไป

เนื่องด้วยการตีความความหมายนิยามของคำว่า “ยาสูบ” ในมาตรการทางภาษี ซึ่งยาสูบตามกฎหมายไทยหมายถึง บุหรี่ซิกาแรต ยาเส้น ยาปรุง และยาเคี้ยว แต่มิได้มีการกล่าวถึงบุหรี่ไฟฟ้าหรือมีข้อความตอนใดอันจะตีความให้หมายรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ ดังนั้นนิยามของคาว่า “ยาสูบ” ที่จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรได้ ดังนั้น ตามการตีความทางกฎหมายที่มีอยู่จึงขาดความครอบคลุม เนื่องจากไม่สามารถครอบคลุมถึงสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้าได้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบุหรี่ไฟฟ้า โดย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบัน จึงมีเพียงมาตรการป้องปรามควบคุมอย่างเด็ดขาดเป็นโทษปรับ โดยถือว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในของลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 อีกนัยหนึ่ง

บุหรี่ไฟฟ้าประเภทใดผิดกฎหมาย

บุหรี่ไฟฟ้า(Vape) หรือ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์(e-cigarette) หากตีความตามบทบัญญัติของกฎหมายไทยจะพบว่า บุหรี่ไฟฟ้า คืออุปกรณ์คล้ายบุหรี่มวน ตัวเครื่องบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งเป็นส่วนของแบตเตอรี่และส่วนที่บรรจุขวดขนาดเล็กที่ใส่ของเหลวที่มีนิโคตินผสมอยู่(น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า) เวลาสูบสวิตช์ไฟจะถูกเปิดเกิดสัญญาณไฟพร้อมกับการทางานของแบตเตอรี่ ส่งความร้อนแก่น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าในขวดขึ้นมาเป็นควันละอองไอน้ำใช้ดูดเข้าไปในปอด ซึ่งปอดจะได้รับนิโคตินก่อนจะพ่นออกมา

“บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทําให้เกิดละอองไอน้ํา ในลักษณะคล้ายควันบุหรี่ไม่ว่าจะกระทําขึ้นด้วยวัตถุใด ซึ่งใช้สําหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่ ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 8543.70.90 – ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กําหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557

ปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้าล่าสุดได้ถูกจำแนกออกเป็น 4 ประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่ 1. บุหรี่ไฟฟ้าแบบกล่อง(Box Mod) 2. พอตหรือบุหรี่ไฟฟ้าแบบเปลี่ยนหัว(Pod) 3. บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง(Disposable pod) 4. บุหรี่ไฟฟ้าแบบยิงสด(ไม่นิยมใช้กันมากนัก) ทั้งหมดล้วนอยู่ในความหมายของ ”บุหรี่ไฟฟ้า” ที่ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายและสินค้าต้องห้ามนำเข้าในประเทศไทย

ความเห็นของสื่อ

แม้เราจะทราบถึงมาตรการทางกฎหมายไทยไปแล้ว หากแต่เราได้รวบรวมความเห็นของสื่อทั้งแง่ของนักการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง และนักข่าวอิสระ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึง ฐานความคิดหลักบางประการและความต้องการของชาวไทยที่กำลังต้องการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เหล่านี้

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

“แนวคิดของผม คิดว่าประเด็นสำคัญคือ เราต้องทำเรื่องนี้ให้ถูกกฎหมาย หากคิดว่าเป็นเรื่องวิถีชีวิตประชาชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นสิ่งที่คนส่วนมากยอมรับได้ เราก็ควรจะทำให้ถูกกฎหมาย ให้มีการขายและเก็บภาษีให้ถูกต้อง เพื่อเอาภาษีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องอื่น ลดภาระประชาชน ไม่ทำกฎหมายให้ขัดต่อวิถีชีวิตประชาชน มันจะแก้ปัญหาเรื่องส่วยและแก้ปัญหาเรื่องการคอร์รัปชันได้”

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มหนึ่ง และในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรป ในอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศญี่ปุ่น บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย สามารถบริโภคได้ ปัจจุบันมีขายทั่วไป ไม่ใช่เพียงแค่ออนไลน์อย่างเดียว  นายชัยวุฒิ เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริง ประเทศที่พัฒนาแล้วเกือบทุกประเทศ อนุญาตให้มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ดังนั้น ประเทศไทยก็ควรจะพิจารณาตามความเหมาะสม 

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (นักข่าว อิสระ)

“ควรจะเลือกเอาสักอย่าง จับแล้วมาแจก จับไม่จริง จับแล้วก็ปล่อย ตีกินกัน บริหารไม่ได้ก็เอาขึ้นมาบนโต๊ะเลย แล้วก็จัดการกำหนด ว่า บุหรี่ไฟฟ้าจะต้องมีสเปคแบบไหนอย่างไร น้ำยาที่ใช้จะต้องเป็นแบบไหน ต้องผ่าน อย.ไหม จะเสียภาษีให้กับรัฐเท่าไหรก็ว่าไป เมื่อปราบไม่ได้แล้ว เหมือนกับหวย ก็เอาขึ้นมาบนโต๊ะเลย แต่กลับไม่ทำ ปล่อยเป็นช่องว่างให้ตำรวจเอาไปรีดไถหากิน บุหรี่ไฟฟ้าคนสูบกันทั่วบ้านทั่วเมือง ใครๆก็สูบ แม้แต่ตำรวจ นักการเมืองเองก็ยังสูบ ร้านขายมีทุกที่ คิดจะจับกันไปตลอดปีตลอดชาติเลยหรืออย่างไร”

นายชูวิทย์ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัญหาเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเหล่านี้จริง ๆ แล้วสามารถจัดการได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนกระบวนการให้สมควร เราก็จะสามารถทำการเก็บภาษีจากการนำเข้าอย่างถูกต้องได้ เหมือนกับกัญชาถูกกฎหมายในปัจจุบันที่สามารถขายได้อย่างเสรีในไทย นายชูวิทย์จึงขอเรียกร้องเรื่องนี้อีกครั้งและขอให้มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ต้องให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย เพราะในปัจจุบันเป็นช่องว่างให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและพนักงานตำรวจเรียกรับสินบน

พรรคการเมือง พรรคก้าวไกล

พรรคก้าวไกล(moveforwardparty) มีนโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า อนุญาตให้มีการผลิต นำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยได้ หากแต่ มีข้อกำหนดเช่นเดียวกับบุหรี่ เช่น จำกัดอายุผู้สูบ ห้ามสูบในที่สาธารณะ การห้ามโฆษณาและจัดโปรโมชั่น และต้องมีมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ เช่น การห้ามแต่งกลิ่นและรสของผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า เป็นนโยบายที่ ต้องการการนำธุรกิจที่แต่เดิมผิดกฎหมายและอยู่ใต้ดินให้ขึ้นมาอยู่บนดินโดยมีการกำกับควบคุมอย่างเข้มข้นน่าจะเป็นทางออกที่จะสามารถควบคุมการดำเนินธุรกิจได้จริง ปิดช่องที่จะเกิดการฟอกเงิน การค้ามนุษย์ รวมไปถึงการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และยังสามารถสร้างรายได้เข้ารัฐในรูปแบบของภาษีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตได้อีกด้วย

ความเห็นทางกฎหมาย

หากพิจารณา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าทั้ง 5 ฉบับ เสร็จสิ้นแล้วจะพบว่าทั้งกรณีผู้ขาย ผู้พกพา ผู้นำเข้า และผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ ย่อมมีความผิดตามกฎหมายไทยทั้งสิ้น ทั้งในทางทฤษฎีประกอบกับคำพิพากษาของศาลเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่มาก

หากแต่ในทางปฎิบัติการจับกุมผู้พกพาและขายบุหรี่ไฟฟ้าในไทยยังมีอยู่น้อยราย ตามข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันในหลายกรณี และในแง่นิติศาสตร์เชิงวิชาการ แม้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่อยู่ในคำนิยามของคำว่า ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค แต่กระนั้นก็ดี บุหรี่ไฟฟ้าก็มิได้ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้า ยังคงเป็นสินค้าผิดกฎหมายซึ่งถูกระบุไว้ในบัญชีท้ายของประกาศกระทรวงพาณิชย์ ทำให้มาตรการทางกฎหมายที่ออกมาบังคับกับผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าทั้ง 2 ฉบับนี้ เป็นมาตรการที่มีผลควบคุมเพียงในด้านของการ นำเข้า จำหน่าย และให้บริการเท่านั้น ซึ่งล้วนไม่ใช่พฤติการณ์ปกติของผู้บริโภคหรือผู้พกพาบุหรี่ไฟฟ้า

ด้วยเหตุนี้ การถูกจับกุมหรือไม่ในกรณีพกพาบุหรี่ไฟฟ้าของผู้บริโภค หรือพกพาบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อใช้เอง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการตัดสินความถูกผิดของพฤติการณ์ ต่าง ๆ

ดุลพินิจ ประกอบด้วยคําว่า “ดุล” ซึ่งแปลว่า เท่ากัน เสมอกัน และเท่าเทียมกัน และคําว่า “พินิจ” ซึ่งแปลว่า พิจารณา ดังนั้น “ดุลพินิจ” จึงมีความหมาย ว่า การวินิจฉัยที่สมควรหรือการพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม๕ ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า การวินิจฉัยที่เห็นสมควร

 โดยทางผู้เขียนเห็นว่า เจ้าพนักงานที่มีอำนาจและหน้าที่จับกุมอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังพิจารณารับฟังและเข้าใจความเห็นของประชาชนไทยเพื่อใช้ดุลพินิจผ่อนปรน ในระยะสั้นแก่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทั่วไป ก่อนมาตรการระยะยาวจะออกมาเป็นร่างกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป อ้างอิงจาก ความเห็นของสื่อในปัจจุบัน เช่น บุหรี่ไฟฟ้าไม่ปรับไม่จับเริ่มจากวันนี้ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2566 ล่าสุดที่นายชูวิทย์ประกาศเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าว่า ได้รับหนังสือซึ่งลงนามโดย ผบ.ตร.ว่าในระยะสั้น จะไม่มีการปรับหรือจับ จะทำเพียงแต่ยึดบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น

สรุปส่งท้าย

จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังได้รับความนิยม มีหลักฐานอ้างอิงอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นถึง อันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณ จำนวนมากให้กับการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ด้วยแนวคิดใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อทดแทนการสูบบุหรี่ธรรมดา 

บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ามักทำให้เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ เพราะไม่มีใบยาสูบและไม่มีการเผาไหม้ และสามารถ ใช้ทดแทนการเลิกสูบบุหรี่ธรรมดาได้ แต่ความเป็นจริงกลับพบว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับบุหรี่ซองทั่วไป โดยบุหรี่ไฟฟ้าจัดเป็นกลุ่มสารเสพติดชนิดใหม่ที่มีสารละลาย โปรปิลินไกลคอล(PG) ที่มีสารนิโคตินผสมอยู่ มีหลักการทำงานที่ทำให้เกิดความร้อนจากแบตเตอรี่ ไฟฟ้า และระเหยขึ้นเป็นควัน เพื่อสูดเข้าสู่ปอด หากแต่โรคที่พบจากบุหรี่ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้น้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป

โดยกลุ่มเป้าหมายหลักทางการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าในไทยคือวัยรุ่นชาย หญิง และนักสูบหน้าใหม่ ดังนั้น กฎหมายจากภาครัฐไทยจึงมีนโยบายและมาตรการทางกฎหมาย รวมถึงบทลงโทษที่เคร่งครัดแก่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกรณีต่างๆ ทั้ง กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า หรือ กรณีผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า หรือ กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า หรือ กรณีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ 

อย่างไรก็ดี จากบทความของเรา ได้มีข้อพิสูจน์บางประการเพิ่มเติม ทั้งจาก ความเห็นของสื่อ ความเห็นทางกฎหมายเชิงวิชาการ และงานวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าล่าสุดที่ไม่เห็นด้วยและเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าควรทำให้ถูกกฎหมายในไทย เราหวังว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับ กฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยขณะนี้ แม้ข้อเท็จจริงล่าสุด ทางกฎหมายระบุให้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายในปี 2566 หากแต่ในอนาคต พวกเราทีมงาน Podsamurai หวังว่าผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะต่อสู้และช่วยกันผลักดันร่างกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้า จนทำให้ บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ผิดกฎหมายแล้ว เกิดขึ้นได้ในที่สุด

เขียนโดย เฮียจุ๋ย วงศ์พัฒนา

เฮียจุ๋ยเป็นบุคคลสำคัญในแวดวงบุหรี่ไฟฟ้า(พอต) ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวางในอุตสาหกรรมและด้วยประสบการณ์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เฮียจุ๋ยได้ค้นคว้าและเขียนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามาเป็นเวลา 3 ปี และตั้งใจจะสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองเป็นผู้มีชื่อเสียงชั้นนำในโลกแห่งบุหรี่ไฟฟ้านี้

#TAG
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อดีและข้อเสียของการใช้พอตกัญชา
พอตกัญชา เป็นวิธีการบริโภคกัญชาที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และมีทางเลือกหลากหลายให้ผู้ใช้เลือกใช้
อ่านต่อ ข้อดีและข้อเสียของการใช้พอตกัญชา