อัพเดทใหม่ล่าสุดเมื่อ 14 มิถุนายน 2023
Popcorn lung(ปอดป๊อปคอร์น) คือคำที่ใช้เรียกโรคภาวะรุนแรงในปอดที่รู้จักกันในชื่อ Bronchiolitis Obliterans โดยใช้ชื่อย่อว่า BO และบางครั้งเรียกว่า หลอดลมฝอยอักเสบตีบ โรคนี้มีลักษณะโรคที่สังเกตได้โดยง่ายคือจะเกิดแผลเป็นทางเดินหายใจที่ขนาดเล็กที่สุดในปอด ซึ่งก็คือหลอดลมฝอย ซึ่งหากเกิดโรคปอดป๊อปคอร์นขึ้นร่างกายจะลดการทำงานของปอดและความจุของปอด ซึ่งการปลูกถ่ายปอดใหม่ยังคงเป็นวิธีเดียวในการรักษาภาวะนี้
BO หรือ โรคหลอดลมฝอยอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และจากเชื้อรา หรือการหายใจเอาอนุภาคเคมีเข้าไปในปอดซึ่งเป็นสารเคมีที่อัตราย เช่น ไดอะซิทิล(diacetyl) มักเกี่ยวข้องกับโรคPopcorn lung(ปอดป๊อปคอร์น)ที่เรากำลังกล่าวถึง ทั้งการปลูกถ่ายปอดซึ่งเป็นวิธีเดียวในการรักษาโรคปอดข้าวโพดคั่วนี้ ก็สามารถนำไปสู่ภาวะนี้ซ้ำขึ้นอีกครั้งได้ นี่จึงเป็นสาเหตุหลักที่ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมฝอยอักเสบจากการติดเชื้อ (Bronchiolitis obliterans syndrome – BOS) มักปฏิเสธการปลูกถ่ายปอดเรื้อรังอีกครั้ง
อาการของโรคปอดป๊อปคอร์น
เมื่อเกิดแผลเป็นบนเนื้อเยื่อปอดและมีภาวะปอดป๊อปคอร์น ผู้ที่ป่วยจะเกิดโรคปอดป๊อปคอร์นจะมีอาการใกล้เคียงกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) แต่อาการปอดป๊อปคอร์นสามารถเกิดขึ้นและสังเกตเห็นได้ภายใน 2-8 สัปดาห์ ในขณะที่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(bronchiolitis)มักใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปีกว่าอาการจะออกให้คุณสังเกตได้ และนี่คือสัญญาณเริ่มต้นของอาการปอดป๊อปคอร์นที่คุณสามารถพบได้
- 1.ไอแห้ง
- 2.หายใจถี่ขึ้น
- 3.ความอดทนปอดต่ำ
- 4.หายใจเสียงดัง คล้ายหอบหืด
- 5.เหนื่อยล้าง่าย
แม้โรคปอดป๊อปคอร์นจะเป็นโรคที่พบได้ยากมาก แต่อาการเริ่มแรกของโรคปอดป๊อปคอร์นอาจทำให้แพทบ์เข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัดปกติได้ ในช่วงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นและรุนแรงขึ้น ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการหายใจและการดูดซึมออกซิเจนบกพร่องในที่สุด หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา โรคปอดป๊อปคอร์นอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากการหายใจที่ล้มเหลวในช่วงระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปีที่เผชิญโรคร้ายนี้
การวินิจฉัยโรคปอดป๊อปคอร์นอาจเป็นเรื่องยากและไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน แม้ว่าการ CTสแกน และการทดสอบการทำงานของปอดโดยแพทย์จะสามารถบ่งชี้โรคได้ แต่วิธีเดียวที่จะมั่นใจได้ถึงผลตรวจและวินิจฉัยโรคปอดป๊อปคอร์นคือการตรวจชิ้นเนื้อปอดโดยการผ่าตัด ซึ่งต้องใช้ชิ้นเนื้อจำนวนมากของผู้ป่วยเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด
ทำไมถึงได้ชื่อว่าโรคปอดป๊อปคอร์น
เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2545 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้รายงานว่า มีผู้ป่วยที่เป็นพนักงานของโรงงานข้าวโพดคั่วในรัฐมิสซู สหรัฐอเมริกา จำนวน 8 ราย ซึ่งมีอาการปอดเสียหายในภาวะที่รุนแรง เนื่องจากผู้ป่วยทั้ง 8 รายทำหน้าที่ผสมเครื่องปรุงข้าวโพดคั่วเป็นเวลานาน ซึ่งต้องรับสารเคมีอันตรายอย่าง ไดอะเซทิล(diacety) กับน้ำมันร้อนในถังคั่่วข้าวโพดตลอดระยะเวลาปฎิบัติหน้าที่และได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรค ปอดป๊อปคอร์นครั้งแรกที่ตรวจพบในที่สุด
ด้วยหลักการทำงานของหลอดลมภายในร่างกายของมนุษย์นั้นเริ่มต้นผ่านกล่องเสียงในคอหอย ลงไปสู่หลอดลมขนาดใหญ่ที่แบ่งออกเป็นหลอดลมหลักด้านขวาและด้านซ้าย จากนั้นอากศภายในหลอดลมจึงกระจายไปทั่วบริเวณปอดต่างๆ ค่อยๆ ตีแคบลงจนถึงถุงลม(ปอด) กล่าวคือ ปอดของมนุษย์และหลอดลมเปรียบเสมือนเครื่องแลกเปลี่ยนก๊าซ
ซึ่งหลอดลมฝอยนั้นเป็นส่วนเล็ก ๆ ของหลอดลมก่อนถึงถุงลม หลอดลมส่วนนี้มีแถบผังกล้ามเนื้อเรียบหนาล้อมรอบ สามารถควบคุมแรงต้านของทางเดินหายใจโดยรวมได้ เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หดตัวจากโรคปอดป๊อปคอร์น เราจะได้ยินเสียงปอด “หวี๊ด” เหมือนกับเสียงที่ได้ยินจากผู้ป่วยในโรคหอบหืด และยังคล้ายกับเสียงข้าวโพดที่กำลังจะคั่วกลายเป็นป๊อปคอร์นสุกอีกด้วย
เมื่อช่วงปี 2000 มีรายงานโรคปอดป๊อปคอร์นนี้ ปรากฏมากในหมู่คนงานในโรงงานป๊อปคอร์นแบบบรรจุห่อ สำหรับสาเหตุนั้นต้องสืบย้อนไปถึงสารไดอะเซทิล(diacetyl) ซึ่งเป็นสารปรุงแต่งรสเนยในป๊อปคอร์นกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเป็นพิสูจน์พบในชั้นศาลว่า ไดอะเซทิล(diacetyl)เป็นสารอันตรายและเป็นสารที่เป็นสาเหตุหลักที่เกิดโรคปอดป๊อปคอร์นในหมู่พนักงานภายในโรงงาน
น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีสารไดอะเซทิล(diacetyl) หรือไม่?
จริงอยู่ที่สารไดอะเซทิล(diacetyl) สามารถพบได้ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาพอตบางชนิดและบางยี่ห้อในร้านบุหรี่ไฟฟ้า หากแต่ไม่เสมอไป เนื่องด้วยสารปรุงแต่งกลิ่นที่ใช้ในการผลิตน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าและหัวพอต(Pods)บางยี่ห้อมีการใช้สารไดอะเซทิล(diacetyl)เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้กลิ่นรสของเนย คัสตาร์ดและขนมหวานอื่นๆ เมื่อผู้ใช้สูบควัน
อันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการรับสาร ไดอะเซทิล(diacetyl) ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและพอต เป็นประเด็นที่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากังวลกันมาตั้งแต่การถือกำเนิดโทคโนโลยีบุหรี่ไฟฟ้ารุ่นแรกๆ ซึ่งได้มีงานวิจัยรองรับด้วยบทความทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกในปี 2014 โดยแพทย์โรคหัวใจ Konstantinos Farsalinos ทีมวิจัย ได้พบไดอะเซทิล(diacetyl)เป็นส่วนประกอบในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ารสนม และรสเนย จำนวนมาก
หากแต่ทีมวิจัยของ Konstantinos ได้กล่าวว่า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจำพวกนี้ถือเป็น “ความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้” กล่าวคือ คุณสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อโรค Popcorn lung(ปอดป๊อปคอร์น) ได้โดยการ งดใช้น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ารสหวาน หรือรสที่คล้ายกับเนย ซึ่งมักมีไดอะเซทิล(diacetyl)เป็นส่วนผสมของน้ำยา
การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เป็นโรคปอดป๊อปคอร์น ?
ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใดยืนยันว่าโรคปอดป๊อปคอร์นเกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยตรง แม้จะมีข่าวมากมายที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ หากแต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการศึกษาการเรื่องน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่สนับสนุนว่าเป็นสาเหตุของป๊อปคอร์นปอด
อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากทีมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าของ Podsamurai ร้านบุหรี่ไฟฟ้า การสัมผัสและรับสารไดอะเซทิล(diacetyl)จากการสูบบุหรี่มวนนั้น ควันบุหรี่มวนมี diacetyl มากกว่าที่พบในผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าอย่างน้อย 100 เท่า
แม้จะมีผู้สูบบุหรี่ประมาณหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกที่รับสาร ไดอะเซทิล(diacetyl)จากบุหรี่มวนดั้งเดิมเป็นประจำ แต่ก็ยังไม่มีผู้สูบบุหรี่มวนคนใดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคป๊อปคอร์นปอด ที่น่าสนใจสำหรับเราคือพนักงาน 8 คนที่ทำงานอยู่ในโรงงานข้าวโพดคั่วนั้นอาจเป็นผู้สูบบุหรี่มวนร่วมด้วย
บทส่งท้าย
แม้ว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะมีอันตรายมากมายแต่โรคปอดป๊อปคอร์นไม่ใช่หนึ่งในความเสี่ยงนั้น และอย่างมากที่สุด บุหรี่ไฟฟ้ามีสารไดอะเซทิล(diacetyl)เพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ที่พบในบุหรี่มวน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดโรคปอดปอดป๊อปคอร์น
เขียนโดย เฮียจุ๋ย วงศ์พัฒนา
เฮียจุ๋ยเป็นบุคคลสำคัญในแวดวงบุหรี่ไฟฟ้า(พอต) ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวางในอุตสาหกรรมและด้วยประสบการณ์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เฮียจุ๋ยได้ค้นคว้าและเขียนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามาเป็นเวลา 3 ปี และตั้งใจจะสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองเป็นผู้มีชื่อเสียงชั้นนำในโลกแห่งบุหรี่ไฟฟ้านี้