อัพเดทใหม่ล่าสุดเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023

ในปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้าประเภทพอต เช่น Relx หรือ Ks Quik ล่วนมีตลับหรือฝักเก็บ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า(Pods) มักทำมาจากส่วนผสมของ น้ำ นิโคติน โพรพิลีนไกลคอล(PG) หรือ กลีเซอรีน(VG) และสารแต่งกลิ่นและรสชาติ ที่บรรจุลงในพอตแบบสำเร็จรูปทั้งสิ้น หากแต่ด้วยยี่ห้อของพอตที่มีให้เลือกมากมาย และไม่ได้กำหนดมาตรฐานเดียวกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าอะไรอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าโดยทั่วไปกันแน่ เราจึงขออาสาให้คำตอบของคำถามที่ว่า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ผสมอะไรบ้าง โดยอ้างอิงจากการทดสอบจริง และข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แก่คุณผู้อ่านกัน

เอาเข้าจริง เป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าอะไรอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าหลายพันยี่ห้อ หรือที่เราเรียกกันว่า “หัวพอต” ที่ขายในร้านบุหรี่ไฟฟ้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่ตรวจสอบหลักเกณฑ์ของสารที่ผสมในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าโดยเฉพาะ 

สำหรับในขณะนี้ ที่นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไม่อาจทราบถึงองค์ประกอบที่แท้จริงของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแต่ละชนิด แต่อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยบางชิ้นได้ระบุถึงสารเคมีที่เป็นโลหะพิษบางประเภทในบุหรี่น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า อ้างอิงจากข้อมูลบน สมาคมปอดอเมริกัน(American Lung Association) สารเคมีเหล่านี้บางชนิดคือสารก่อมะเร็ง ที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์

โดย “น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งมักจะมีนิโคตินที่ได้จากยาสูบประเภทอื่น ๆ นั้น ทำงานร่วมกันกับ น้ำ สารปรุงแต่งรส โพรพิลีนไกลคอล(PG) กลีเซอรี(VG) และส่วนผสมอื่นๆ โดยรวมกันเป็นของเหลวที่จะถูกให้ความร้อนเพื่อสร้างละอองที่ผู้ใช้หายใจเข้าไปในกระบวนการสูบบุหรี่ไฟฟ้า จนเป็นที่มาของน้ำยาฟรีเบส(Freebase) และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบซอลนิก(saltnic) ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน

สารประกอบในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งหมด

  • Nicotine – นิโคติน สารเคมีที่สามารถเกิดอาการเสพติดขั้นสูง และส่งผลต่อหัวใจและการหายใจ
  • Propylene glycol – โพรพิลีนไกลคอลคือของเหลวใสไม่มีกลิ่นที่ใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของสารประกอบที่ใช้เป็นฟรีเบสบนน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หน้าที่ของมันคือ เมื่อสาร PG ถูกความร้อนจะเปลี่ยนของเหลวให้กลายเป็นไอ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง
  • Acetaldehyde formaldehyde – สารเคมีเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันว่ามีความสามารถทำให้ก่อเกิดโรคมะเร็ง
  • Acrolein – หนึ่งในส่วนผสมของยาฆ่าหญ้าที่สามารถทำให้ปอดเกิดความเสียหายอย่างถาวร
  • Cadmium – โลหะพิษที่เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาระบบหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง
  • Diacetyl – สารเคมีที่ใช้ในการให้อาหารมีกลิ่นเนย เชื่อมโยงกับโรคทางปอดที่เรียกว่า ปอดป๊อปคอร์น (popcorn lung)
  • Diethylene glycol – ของเหลวใสไม่มีกลิ่น มีรสหวาน มักพบในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น สารป้องกันการแข็งตัว ใช้เป็นฟรีเบสในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า มีฤทธิ์เป็นพิษและเชื่อมโยงกับโรคปอด อื่นๆ 
  • Nickel – นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว และโลหะหนักอื่นๆ ที่เป็นพิษจากโลหะหนักในร่างกาย ซึ่งสามารถทำลายการทำงานของปอด สมอง ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายมนุษย์

ส่วนผสมน้ำยาฟรีเบส

โดยทั่วไปแล้ว น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทั้งสองประเภท ได้แก่ น้ำยาฟรีเบส(Freebase) และน้ำยาซอลนิก (saltnic)  มีส่วนผสมหลายอย่างเหมือนกันประกอบด้วย น้ำ นิโคติน โพรพิลีนไกลคอล กลีเซอรีน และสารแต่งกลิ่น โดยมีความแตกต่างในแง่ของชนิดนิโคตินที่ใช้ กล่าวคือ

น้ำยาฟรีเบส ผสมกับด้วยนิโคตินรูปแบบ Freebase ซึ่งเป็นนิโคตินรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด มีฤทธิ์แรงกว่าเมื่อได้รับความร้อนและร่างกายดูดซึมได้ง่ายกว่าน้ำยาซอลนิก

ส่วนน้ำยาซอลนิกผสมขึ้นโดยการนำนิโคตินที่เป็น Freebase มาผสมกับกรดบางชนิด (เช่น กรดเบนโซอิก) กระบวนการนี้ทำให้นิโคตินไม่รุนแรงในการดูดบุหรี่ไฟฟ้ามากนัก ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน 

ปริมาณนิโคตินในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า

นิโคตินในพอตเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์แรงและอัตราเสพติดสูงซึ่งมีต้นกำเนิดจากต้นยาสูบ(Tobacco) เคยถูกใช้เป็นยาฆ่าแมลง ปัจจุบันพบมากในผลิตภัณฑ์ยาสูบหลากหลายชนิด รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าและพอตไฟฟ้า

ผลกระทบของนิโคตินจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากหายใจเข้าและรับสารประกอบจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าไปประมาณ 10 วินาที นิโคตินจะเข้าสู่สมอง กระตุ้นความรู้สึกยินดี และให้ความสงบ(สมาธิ)แก่ร่างกาย การเสพติดนิโคตินจึงเกิดแก่ผู้ติดบุหรี่ไฟฟ้าโดยทั่วไป

ปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าแต่ละพอต(Pods) อาจแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ตัวอย่างเช่น มีรายงานว่าน้ำยาพอตของ Relx Infinity มีนิโคติน 5 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นนี้จะเทียบเท่ากับนิโคตินในบุหรี่ทั่วไปหนึ่งซอง และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบขวดที่บรรจุนิโคตินในอัตราที่แรงกว่ามีแนวโน้มที่จะส่งสารนิโคตินไปยังสมองของผู้ใช้ในปริมาณที่สูงกว่า จึงอาจเพิ่มศักยภาพในการเสพติดได้

ผลข้างเคียงจากนิโคติน

  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ
  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • หายใจเร็ว
  • อาการชัก
  • ปวดท้อง
  • อาการสั่น

อันตรายที่พบในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า

ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถเลือกรสชาติของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่แตกต่างกันกว่า 7,000 กลิ่น ภายในร้านบุหรี่ไฟฟ้าทั่วไป แม้ว่าสารปรุงแต่งเหล่านี้หลายชนิดจะถือว่าปลอดภัยสำหรับการบริโภคในอาหารทั่วไป แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อสูดดมในรูปของละอองลอยจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงน้ำยาพอต(Pods)

การศึกษาวิจัยที่จัดทำขึ้นในปี 2558 โดยนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าสารปรุงแต่งรสชาติหลายชนิดที่ใช้ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวของผู้ใช้ ซึ่งรสชาติที่เกี่ยวข้องในการวิจัยมีได้แก่ Classic(คลาสสิก), Menthol(มินท์), Cherry Crush(เชอร์รี่), Java Jolt(ไอศกรีม), Pina Colada(คอกเทล), Vanilla Bean(วนิลา), Bad Apple(แอปเปิล), Iced Berry(เบอรี่), Banana(กล้วย), Pomegranate(ทับทิม), Peach Pit(พีช), Watermelon(แตงโม), Coconut(มะพร้าว), Pineapple Punch(พันซ์), Carmel Popcorn(ป๊อปคอร์น), Bubble Gum(หมากฝรั่ง) และกลิ่น Candy(ลูกอม)

จากงานวิจัยดังกล่าว เผยให้เห็นว่ามีสารเคมีแต่งกลิ่นยอดนิยมอย่างน้อย 1 ใน 3 ชนิด พบสารประกอบ diacetyl หรือ acetoin จาก 47 ใน 51 กลิ่นน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ทดสอบ

อะไรใช้แทนน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าได้

สำหรับผู้อ่านที่กำลังกังวลกับการใช้น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้น และต้องการใช้สิ่งทดแทนน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นของเหลวประเภทอื่นๆ แทนที่ เราขอให้คำแนะนำเบื้องต้นว่า บุหรี่ไฟฟ้แต่ละรุ่นนั้นย่อมได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าโดยเฉพาะรุ่น โดยน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเหล่านี้ถูกคิดค้นขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้น้ำยา(ของเหลว)กลายเป็นไอโดยอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังไฟสูงเพื่อเกิดกระบวนการทำงานได้เท่านั้น การใช้สารอื่นๆ แก่เครื่องบุหรี่ไฟฟ้าอาจเป็นอันตรายและทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ (ไม่แนะนำ)

น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าผสมกันได้ไหม

สามารถทำได้ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าสามารถผสมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างรสชาติที่กำหนดเองหรือปรับระดับนิโคตินได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจคุณสมบัติของของเหลวที่คุณกำลังผสม ของเหลวบางชนิดอาจผสมกันได้ไม่ดีนัก เนื่องจากส่วนประกอบพื้นฐานที่แตกต่างกัน (เช่น อัตราส่วน PG/VG) ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพของไอระเหยและอาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า ศึกษาเพิ่มเติมได้ในวิธีทําน้ํายาบุหรี่ไฟฟ้าเองง่ายๆ ดังนั้น ตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าส่วนผสมมีความปลอดภัยในการดูดบุหรี่ไฟฟ้าทุกครั้ง

น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าใช้กับพอตได้ไหม

สามารถทำได้ บุหรี่ไฟฟ้าแบบพอตนสามารถเติมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบขวดได้ อย่างไรก็ตาม พอต(Pods)บางรุ่นไม่ได้ออกแบบมาให้รีฟิล(เติมน้ำยาเอง)ได้ การตรวจสอบคำแนะนำของผู้ผลิตสำหรับอุปกรณ์และพอตของคุณเป็นสิ่งสำคัญ พอตบางชนิดอาจใช้ได้กับของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าบางประเภทหรือบางยี่ห้อเท่านั้น

น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเย็นเกินไป

อุณหภูมิที่รับรู้ได้ของควันจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ การตั้งค่าพลังงาน และองค์ประกอบของของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเย็นเกินไปอาจเนื่องมาจากการตั้งค่าพลังงานต่ำ ซึ่งไม่ได้ให้ความร้อนแก่น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่เพียงพก่อนที่จะระเหยกลายเป็นไอ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นผลมาจากส่วนผสมเฉพาะในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า เช่น อัตราส่วนเมนทอล หรือ ส่วนผสมของน้ำยากลิ่นมินท์

เขียนโดย เฮียเจแปน

นักรีวิวบุหรี่ไฟฟ้าชาวไทยที่สนใจและตามหาเรื่องราวในรสชาติและผู้คนที่เกี่ยวโยงกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ผ่านควันบุหรี่แต่ละแบบ

#TAG
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อดีและข้อเสียของการใช้พอตกัญชา
พอตกัญชา เป็นวิธีการบริโภคกัญชาที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และมีทางเลือกหลากหลายให้ผู้ใช้เลือกใช้
อ่านต่อ ข้อดีและข้อเสียของการใช้พอตกัญชา